fbpx

การเลือกชนิดของฟิล์มหด (Shrink film) ให้เหมาะสมกับสินค้า

การเลือกชนิดของฟิล์มหด (Shrink film) ให้เหมาะสมกับสินค้า

     การเลือกใช้ฟิล์มหด (Shrink Film) อย่างเหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์นั้นต้องพิจารณาหลายปัจจัย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการบรรจุ ปกป้องผลิตภัณฑ์และเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตัวสินค้า โดยนี่คือ 6 ขั้นตอนหลักสำหรับแนวทางในการเลือกใช้ฟิล์มหดให้เหมาะสม

ความต้องการในการใช้งานฟิล์มหด (Shrink film)

     ในการออกแบบฟิล์มหด (Shrink film) เราต้องทราบเป้าหมายในการใช้งานก่อนเป็นอันดับแรก ต้องระบุหน้าที่ของฟิล์มหดที่ต้องการใช้อย่างชัดเจนว่าจะใช้ทำหน้าที่อะไร เช่น ฟิล์มหดสำหรับทำฉลากสินค้า (Shrink label), ฟิล์มหุ้มฝาขวด (Cap seal), ฟิล์มสำหรับชริ๊งแพ็ค (Shrink pack) และ ฟิล์มสำหรับห่อหุ้มป้องกันสินค้า (Wrap around) เป็นต้น ซึ่งหน้าที่ในการใช้งานนั้นส่งผลต่อลักษณะคุณสมบัติของฟิล์มที่เราต้องการใช้งาน

ตัวอย่างเช่น : กรณีของฟิล์มหดสำหรับทำฉลากสินค้า (Shrink label) ต้องเลือกอัตราหด MD ที่น้อยเพราะการหดตัวของฟิล์มต้องคำนึงถึงงานพิมพ์เมื่อหดตัวแล้วต้องสวยงาม

ชนิดบรรจุภัณฑ์

ชนิดบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มีการพบในท้องตลาดตลาดได้แก่ แก้ว, พลาสติก, กล่องกระดาษ, อลูมิเนียม, เหล็ก และยางรถ เป็นต้น ซึ่งชนิดบรรจุภัณฑ์สินค้านั้นมีผลอย่างยิ่งต่อการเลือกชนิดฟิล์มหด(Shrink film)  ที่จะนำมาใช้อย่างมากเนื่องจากสินค้าบางชนิดอาจมีข้อจำกัดที่ไม่สอดรับกับคุณสมบัติของฟิล์ม

ฟิล์มหดสำหรับบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ

ตัวอย่างเช่น : บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทกล่องกระดาษนั้น เหมาะสมกับฟิล์มหดชนิด PVC มากกว่าฟิล์มหดชนิด PET-G เนื่องจากฟิล์มหดชนิด PET-G มีอัตราหดตัวค่อนข้างสูงกว่าฟิล์มหดชนิด PVC และเมื่อผ่านความร้อน จะหดตัวแล้วกอดรัดตัวบรรจุภัณฑ์ไว้แน่น ซึ่งจะทำให้กล่องกระดาษนั้นบุบได้

รูปทรงบรรจุภัณฑ์สินค้า

     รูปทรงบรรจุภัณฑ์สินค้านั้นส่งผลในด้านการออกแบบฟิล์มหด (Shrink film) โดยบรรจุภัณฑ์สินค้าบางประเภทอาจถูกออกแบบให้มีส่วนเว้าส่วนโค้งมากกว่าปกติ ทำให้จำเป็นต้องเลือกใช้ฟิล์มหดที่มีอัตราการหดตัวสูงเป็นพิเศษ หรือบรรจุภัณฑ์สินค้าบางประเภทอาจถูกออกแบบให้มีเหลี่ยมมุม หากใช้ฟิล์มหดที่บางเกินไปบริเวณมุมดังกล่าวอาจฉีกทะลุฟิล์มหดได้ขณะทำการหด จึงต้องออกแบบฟิล์มให้มีความหนาที่มากขึ้น

คุณสมบัติของฟิล์มหดแต่ละประเภท

     คุณสมบัติของฟิล์มหดแต่ละประเภทนั้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการออกแบบ เพราะส่งผลถึงรูปลักษณ์ของสินค้าและต้นทุนในการผลิต โดยฟิล์มหด (Shrink film) นั้นมีหลากหลายประเภท โดยประเภทที่ได้รับความนิยมในการใช้งานทั่วไปได้แก่ ฟิล์มหด PE, ฟิล์มหด POF, ฟิล์มหด OPP, ฟิล์มหด PVC และฟิล์มหด PETG

ฟิล์มหดชนิดต่างๆ

ตารางการเปรียบเทียบฟิล์มหดชนิดต่างๆ

คุณสมบัติ

ฟิล์มหด PE

ฟิล์มหด POF

ฟิล์มหด PVC

ฟิล์มหด PETG

วัสดุ

Polyethylene (PE)

Polyolefin (POF)

Polyvinyl Chloride (PVC)

Polyethylene Terephthalate Glycol (PETG)

ความใส

ต่ำ

สูง

ปานกลาง

สูง

ความแข็งแรง

ปานกลาง

สูง

สูง

สูง

ความยืดหยุ่น

ปานกลาง

สูง

ปานกลาง

สูง

การหดตัว

ปานกลาง

ดี

ดี

ดีมาก

การพิมพ์และตกแต่ง

มีข้อจำกัดการพิมพ์

สามารถพิมพ์ได้ดี

สามารถพิมพ์ได้ดี

สามารถพิมพ์ได้ดี

ต้นทุน

ต่ำ

ปานกลาง-สูง

ต่ำ

ปานกลาง-สูง

การใช้งานทั่วไป

บรรจุภัณฑ์ทั่วไป

บรรจุภัณฑ์คุณภาพสูง

บรรจุภัณฑ์ทั่วไป

บรรจุภัณฑ์ที่ต้องการความใสสูง

การหาไซส์/รูปแบบฟิล์มหดที่เหมาะสมกับบรรจุภัณฑ์สินค้า รวมถึงการทำงานของลูกค้า

     การออกแบบฟิล์มหดให้เหมาะนั้นนอกจากจะต้องออกแบบให้สอดรับกับตัวสินค้าแล้วยังต้องคำนึงถึงกระบวนการการทำงานของรูปค้าเป็นสำคัญด้วย เนื่องจากกระบวนการของลูกค้านั้นมีความหลากหลายในการทำงาน เช่น ลูกค้าบางแห่งนั้นใช้เครื่องอัตโนมัติ ก็จะเหมาะกับงานฟิล์มหดประเภทม้วน ทางผู้ออกแบบต้องทำให้ไซส์ของฟิล์มหดนั้นหลวมกว่างานประเภทชิ้น เพราะต้องเผื่อให้เครื่องสวมทำงานได้ และต้องเข้ารูปสวยงาม ลูกค้าบางแห่งต้องการงานฟิล์มหดประเภทชิ้นก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ต้องออกแบบให้ฟิล์มหดนั้นสวมง่ายทำงานได้เร็ว และเข้ารูปสวยงาม หรือลูกค้าบางแห่งใช้เครื่องอบฟิล์มหด แบบอุโมงค์ (SHRINK TUNNEL MACHINE) ทางผู้ออกแบบก็จำเป็นต้องทราบสภาวะในการผลิตด้วยเพื่อปรับให้มีความเหมาะสม

การวางแบบ (กรณีเป็นงานพิมพ์)

     สำหรับงานพิมพ์นั้นนอกจากคำนึงรายละเอียดในการเลือกการออกแบบดังที่กล่าวมาแล้วยังต้องคำนึงถึง การใช้เฉดสี และการไล่สีในการพิมพ์ การออกแบบฟิล์มหดที่ต้องทำให้แผนกพิมพ์ทำงานได้ง่ายม ขนาด และ Dimension ในการวางแบบทั้งยังต้องคำนึงถึงรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ และ การหดตัวของฟิล์มเมื่อเข้ารูปกับบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้หลังจากฟิล์มหดตัวแล้วรายละเอียดยังชัดเจนและส่วนงาม ซึ่งในงานประเภทที่ต้องคำนึงถึงรายละเอียดส่วนนี้เป็นสำคัญคืองานกลุ่ม ฉลากหด (Shrink label)

     การเลือกใช้ฟิล์มหดที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ของคุณนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของผลิตภัณฑ์และองค์ประกอบที่หลากหลายดังที่กล่าวมา  ควรตรวจสอบความต้องการทั้งหมดเหล่านี้เพื่อให้เลือกฟิล์มหดที่ตอบสนองต่อความต้องการได้ดีที่สุด

     หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมหรือต้องการคำแนะนำเฉพาะเกี่ยวกับการใช้ฟิล์มหดสำหรับผลิตภัณฑ์ของคุณ อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา อุตสาหกรรม วินิลเทค พร้อมเป็นผู้ช่วยสำหรับการออกแบบงานของคุณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top